Advertisement

Main Ad

ถ้าไร้ซึ่ง "กริยา" (Verb) คนเราจะบอกรักกันได้ยังไง ตอนที่ 1

ถ้าไร้ซึ่ง "กริยา" (Verb) คนเราจะบอกรักกันได้ยังไง ตอนที่ 1

กว่าจะมาถึงจุดนี้ ทุกคนคงได้ชิมลางเรื่องราวต่างๆ ของแกรมมาร์ภาษาอังกฤษกันไปบ้างแล้วนะคะ อย่างน้อยก็ 2 ตัว ซึ่งก็ได้แก่ 

1. คำนาม (Noun) 
2. คำสรรพนาม (Pronoun) 

ใครที่ยังไม่รู้เรื่องอะไรเลย เข้าไปอ่านที่นี่ก่อนนะคะ สาลี่เรียงลำดับเรื่องเอาไว้ให้แล้ว
ใจเย็นๆ ค่อยๆ เรียนรู้เดี๋ยวก็จะเก่งเองค่ะ
จำไว้ว่า เมื่อฐานแน่น เจออะไรก็ไม่ล้ม...^^

มาวันนี้ สาลี่จะมาแนะนำให้รู้จักกับ "ตัวแม่" ของประโยค เพราะถ้าขาดตัวแม่ตัวนี้ ประโยคก็จะไม่เป็นประโยคค่ะ :)

ตัวแม่ตัวนี้ ก็คือ คำ "กริยา" หรือเรียกแรดๆ ว่า Verb /เวิร์ฟ/ นั่นเอง (ออกเสียงภาษาอังกฤษ แรดได้อีกนะคะ ^^ อย่าไปกลัว สาลี่ชอบออกเสียงแล้วดูตัวเองในกระจก รับรองว่าลดความเขินลงไปได้แยะเลยค่ะ)

***ต้องอ่าน*** หากคุณเคยเรียนภาษาอังกฤษไม่ว่าจากที่ใดมา แล้วบังเอิญได้มาอ่านบทความของสาลี่ เปิดใจเรียนรู้วิธีการจำของสาลี่นิดนึงนะคะ มันอาจเรียกไม่ตรงเป๊ะกับบทเรียนที่คุณเคยเรียน แต่รับรองว่าจำง่ายและเอาไปใช้ได้อย่างแน่นอนค่ะ 

Verb หรือ คำกริยาในโลกนี้ (อย่าเพิ่งเอาไปปนกับ Tense นะคะ เรื่อง Tense เอาไว้ก่อน เดี๋ยวสาลี่จะสอนทีหลังน้า) คือ สิ่งที่แสดง Action หรือ การกระทำ 

ไหนลอง "ตะโกน" (shout /เช้าท์/) ซิ -- ถ้าคุณตะโกนได้ "ตะโกน" ถือเป็นคำกริยา

ไหนลอง "คิด" (think /ธิ้งค์/) ซิ -- ถ้าคุณคิดได้ "คิด" ถือเป็นคำกริยา

ไหนลอง "เร็ว" (fast /แฟสท์/ สาลี่ออกสำเนียงอเมริกันนะคะ อังกฤษจะออกว่า /ฟาสท์/) ซิ ถ้าคุณเร็วได้ "เร็ว" ก็จะถือเป็นคำกริยา แต่อยู่ๆ คุณจะมาเร็วไม่ได้ คุณต้องทำกริยาอะไรบางอย่าง อย่างรวดเร็วต่างหาก เพราะฉะนั้น "เร็ว" ไม่ใช่กริยา

สาลี่ขอสอนแบบบ้านๆ จำง่ายและเอาไปใช้ได้จริง ดังนี้ค่ะ 

สาลี่ขอแบ่งกริยาออกเป็น 3 ประเภท  คือ

1. กริยาช่วย - มีหน้าที่ช่วยชาวบ้าน (ในที่นี้คือ กริยาแท้ตัวอื่นๆ ในประโยค)

2. กริยาแท้ - ตัวที่บอกใจความหลักในประโยคว่าประธานทำอะไร หากไม่มีกริยาแท้ในประโยค มันก็จะไม่เป็นประโยคโดยเด็ดขาดค่ะ "กริยาประเภทที่ 2 นี้จะตกหลุมรักกับประธาน หมายความว่า ประธานเป็นอะไร กริยาก็ต้องผันตามประธานไปด้วยเช่นกัน" อ่านเรื่องราวความรักของกริยาแท้ กับ ประธานได้ที่นี่ 

3. กริยาไม่แท้ - กริยาตัวนี้ ไม่ใช่รักแท้ของประธานเหมือน กริยาประเภทที่ 2 เพราะฉะนั้น กริยาไม่แท้ จะไม่มีทางผันไปตามประธานเป็นอันขาดค่ะ (และนี่คือข้อแตกต่างระหว่าง กริยาแท้ และ กริยาไม่แท้ค่ะ -- ตรงนี้ต้องจำให้ได้นะคะ)

วันนี้ เราจะมาลุยกริยาตัวแรกกันค่ะ


HELPING VERBS 
หรือ กริยาช่วย

จำให้ได้นะคะ มีทั้งหมด 24 ตัว
โอ้โห...ชาตินี้ใครจะไปจำได้ฟะ

สาลี่มีวิธีค่ะ จำแค่ 5 คำีนี้เท่านั้น

"ควมฮักเชื่บ่ด้"

สาลี่ไม่ได้ไปอกหักรักคุดมาจากไหนนะคะ แค่แต่งขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนจำเป็นสูตรง่าย ๆ -ง่ายกว่าสูตรคูณแน่นอน- "สังเกตตัวที่ขีดเส้นใต้นะคะ เราจะแตกกริยาช่วย ทั้ง 24 ตัวออกมาจากตัวที่เราขีดเส้นใต้ค่ะ คำแรก จำตัวที่เป็น พยัญชนะทุกตัว คำที่สองเป็นต้นไปจำแต่พยัญชนะตัวแรกค่ะ"

นั่นหมายความว่า เราต้องจำ พยัญชนะ "ค" "ว" "ม" "ฮ" "ช" "บ" และ "ด" ให้ได้ ซึ่งจำง่ายมาก โดยให้จำว่า "ควมฮักเชื่บ่ด้" ไหนลองพูดซิคะ "ควมฮักเชื่บ่ด้" เก่งมาก 
อีกครั้ง "ควมฮักเชื่บ่ด้"  เก่งที่สุดค่ะ 

555+ จำไม่ได้ให้มันรู้ไป เอิ๊กๆ สะใจได้แกล้งคนอ่าน เอาละค่ะ... พร้อมกันหรือยัง  เราจะมา"แถ" กันอีกแล้วนะคะ 

ถ้า "ควมฮักเชื่บ่ด้"

"ค" ก็เป็น can, could
"ว"  ก็เป็น will, would
"ม" ก็เป็น might, may, must
"ฮ" ก็เป็น (Have) has, have, had
"ช" ก็เป็น shall, should
"บ" ก็เป็น (Be) is, am, are, was, were
"ด" ก็เป็น (Do) do, does, did

+ used to, need, dare, ought (อ๊อด ๆ...:)

รวมกันเป็น "24" ตัว พอดีเด๊ะ ^^"

ในกลุ่ม Helping Verb หรือ "ควมฮักเชื่บ่ด้" นี้ แบ่งอย่างเป็นทางการได้ 3 กลุ่มค่ะ 

กลุ่มที่ 1: "ตัวแม่" -- ใช้ช่วยเพื่อทำเป็นคำถามหรือปฏิเสธ ได้แก่ Be, Do, Have บางครั้ง "ตัวแม่" นี้สามารถเป็น กริยาแท้ ได้อีกด้วยค่ะ 
เช่น I have a book. "have" ตรงนี้แปลว่า "มี" เป็น กริยาแท้ เพราะถ้าตัด have ออกไป มันจะไม่เป็นประโยคทันทีค่ะ เพราะขาดกริยาแท้ ซึ่งเป็นความหมายหลักของประโยคไปนั่นเอง :) 
เช่น She does her homework everyday. "does" ตรงนี้แปลว่า "ทำ" เป็น กริยาแท้ เพราะถ้าตัด does ออกไป มันจะไม่เป็นประโยคทันทีค่ะ เพราะขาดกริยาไปนั่นเอง :)
แต่ The children do not eat.  "do" ตรงนี้เป็น "กริยาช่วย" นะคะ เพราะไม่ได้บอกความหมายหลักของประโยค ความหมายหลักอยู่ที่ "eat" ซึ่งแปลว่า กินค่ะ หากตัด "do" ออกไป ก็ยังมีความหมายอยู่ เพียงแต่จะผิดไวยกรณ์นิดหน่อย 

กลุ่มที่ 2: "ตัวเสริม" -- ใช้เพื่อช่วยบอกความหมายเพิ่มเติม กริยาแท้ ได้แก่ can, could, will, would, might, may, must, shall, should (will มีความพิเศษหน่อยนะคะ บางครั้ง Will ก็ไปอยู่ในกลุ่มที่ 1 ใช้ตั้งคำถามหรือปฏิเสธได้เหมือนกันค่ะ -- แต่เราจะจัด will ไว้ในกลุ่มนี้ก่อนแล้วกันนะคะ)
เช่น Peter can swim. "can" ตรงนี้เป็น กริยาช่วย แบบ "ตัวเสริม" เพราะมันไปเสริมความหมายของ กริยาแท้ swim เพื่อบ่งบอก "ความสามารถ" ถ้าตัด can ออกไป มันก็ยังคงเป็นประโยคอยู่ เพียงแต่ความหมายถูกลดทอนลงค่ะ :) 
เช่น You must finish your homework. "must" ตรงนี้เป็น กริยาช่วย แบบ "ตัวเสริม" เพราะมันไปเสริมความหมายของ กริยาแท้ finish (แปลว่า ทำให้เสร็จ) เพื่อบ่งบอก "กฎกติกาว่า ต้องทำ" ถ้าตัด must ออกไป มันก็ยังคงเป็นประโยคอยู่ เพียงแต่ความหมายถูกลดทอนลงค่ะ :)
 เช่น You should read your book. "should" ตรงนี้เป็น กริยาช่วย แบบ "ตัวเสริม" เพราะมันไปเสริมความหมายของ กริยาแท้ read (แปลว่า อ่าน) เพื่อบ่งบอก "สิ่งที่ควรทำ" ถ้าตัด should ออกไป มันก็ยังคงเป็นประโยคอยู่ เพียงแต่ความหมายถูกลดทอนลงค่ะ :)


กลุ่มที่ 3: "ตัวแปลกๆ" -- สมชื่อค่ะ แปลกๆ แต่ละตัวมี "ความหมาย" ในตัวของมันเอง :) ได้แก่ used to, need, dare, ought (อ๊อด ๆ...:)
เช่น My teacher used to go to USA. "used to" ตรงนี้เป็น กริยาช่วย แบบ "ตัวแปลกๆ" ต้องจำนะคะ...ต้องจำ เพราะมันไปเสริมความหมายของ กริยาแท้ go เพื่อบ่งบอกว่า "เคย" ทำกริยา go ในอดีต "ครูของฉันเคยไปอเมริกาด้วย" ถ้าตัด used to ออกไป มันก็ยังคงเป็นประโยคอยู่ เพียงแต่ความหมายถูกลดทอนลงค่ะ :) used to มีตัว -d- ท้ายคำว่า use เสมอนะคะ และใช้กับคำว่า "to" เสมอด้วย (อันนี้ต้องจำเองน้า)
เช่น My teacher needn't move her house. "need" กับ "dare" เมื่อใช้เป็นกริยาช่วย มักนิยมใช้ในรูปปฏิเสธนะคะ needn't = ไม่จำเป็น dare not = ไม่กล้า ตรงนี้ need เป็น กริยาช่วย แบบ "ตัวแปลกๆ" ต้องจำนะคะ...ต้องจำ เพราะมันไปเสริมความหมายของ กริยาแท้ move เพื่อบ่งบอกว่า "ไม่จำเป็น" ที่จะต้องทำกริยา move ก็ในเมื่อบ้านครูฉันอยู่สูง น้ำไม่ท่วมซะหน่อย (เอิ๊กๆ )
เช่น The teacher ought to tell students about flood. "ought to" ใช้เป็นกริยาช่วย = ควร = should ...ต้องจำ เพราะมันไปเสริมความหมายของ กริยาแท้ tell เพื่อบ่งบอกว่า "ควร" ที่จะต้องทำกริยา tell (บอก) เรื่อง flood /ฟลัด/ หรือน้ำท่วมนั่นเองค่ะ นักเรียนจะได้เก็บของหนีทันไงคะ 
กริยาช่วยกลุ่ม 2 +3 นี้ ตามด้วย
กริยาแท้ช่อง 0 (ศูนย์) 
ซึ่งเป็นกริยาที่ไม่เติมอะไรทั้งสิ้น 
ไม่ว่าจะเป็น s,es,ed,ing 
"ไม่เติมอะไรทั้งนั้น"
สังเกตว่าสาลี่ทำกริยาช่อง 0 เป็น
ตัวอักษรสีน้ำเงิน
ในตัวอย่างต่างๆ ข้างต้น

***ตัวอักษรสีเทาที่อธิบายด้านบน เพียงต้องการให้ทุกคนเห็นภาพเท่านั้นค่ะ สงสัยถามได้นะคะ สาลี่ยังอธิบายไม่ครบทุกตัวค่ะ***

สิ่งที่ต้องจำให้ได้เมื่อเรียนบทเรียนนี้
คือ
1. จำให้ได้ว่ากริยา คือ อะไร
2. จำให้ได้ว่ากริยา แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
3. จำให้ได้ว่ากริยาช่วย มีคำว่าอะไรบ้าง
4. กริยาช่วยแต่ละตัว แปลว่าอะไร แล้วใช้ยังไง 
5. จำให้ได้ว่า กริยาช่วยกลุ่ม 2+3 นั้น ตามด้วย กริยาช่อง 0

"จบ" แล้วคะ่ตอนที่ 1
สู้ๆ 


แสดงความคิดเห็น

8 ความคิดเห็น

  1. นักเรียนโข่ง23 พฤศจิกายน 2554 เวลา 15:50

    ได้ความรู้ดีครับคุณครู ยกตัวอย่างทันสมัยกับเหตุการณ์น้ำท่วมด้วย

    ตอบลบ
  2. ช่วงนี้อาจจะทันสมัย ปีหน้าอาจตกสมัยก็ได้นะคะ :)
    แต่ยังไงก็ขออย่าให้ต้องทันสมัยทุกปีเลยเนอะ ^^ น้ำท่วมทุกปีไม่ไหวค่ะ

    ตอบลบ
  3. สวัสดีตอนเช้าครับคุณครู
    "ควมฮักเชื่อบ่ได้" ผมชอบเคล็ดลับแบบนี้จริงๆ
    ผมเคยอ่านหนังสืออังกฤษของอาจารย์ท่านหนึ่งนานมาแล้ว สมัยเรียน ม.ปลาย ก็จะมีเคล็ดลับดีดี ช่วยให้จำได้ง่าย อ.บุญเลิศ หรือเปล่าไม่แน่ใจ ตามหาหนังสือเล่มนั้นไม่เจอแล้ว เพราะมันนานนมาก "เอกพจน์ ใช้ does พหูพจน์ใช้ do, I They We You ใช้ do เหมือนกัน" ผมจำได้ขึ้นใจเลยครับ

    ตอบลบ
  4. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  5. :) จำอะไร ติงต๊องยังไงก็ได้เนอะ เป้าหมายคือขอให้จำได้แล้วกัน จริงไหมคะ
    ทีแรกก็เขินๆ อยู่เหมือนกันที่ต้องมานำเสนอไอเดียแบบต๊องๆ บางทีก็แถไม่เข้าท่า
    แต่ถ้าสาลี่ชินแล้ว คาดว่าไม่นานนักเรียนหรือคนที่เข้ามาอ่านก็ต้องชินไปเองเหมือนกันค่ะ (กับการแถของสาลี่นะคะ แต่บางครั้งก็มีเหตุผลนะคะ หุหุ..แอบแก้ตัว)

    ตอบลบ
  6. " ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนนำออก " - -" แง่ะๆๆ

    ตอบลบ
  7. "นำความเห็นออกทำไมจ้า" หืม

    ตอบลบ
  8. ไม่ระบุชื่อ29 มกราคม 2559 เวลา 00:33

    ชอบเทคนิควิธีการเขียน การให้ความรู้ของครูจัง อ่านสนุก ไม่เบื่อ ชวนให้ติดตาม ขอบคุณมากๆค่ะคุณครู

    ตอบลบ

ทักทาย แสดงความคิดเห็นหรือถามคำถามได้ ที่นี่ เลยค่ะ