Advertisement

Main Ad

สมองของเราทำงานอย่างไรในการเรียนรู้ภาษา

สมองของเราทำงานอย่างไรในการเรียนรู้ภาษา 

หากเราเข้าใจว่าสมองของเราทำงานอย่างไรในการเรียนรู้ภาษา เราจะสามารถเรียนรู้ภาษาได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยจะไม่ล้มเลิกไปเสียง่ายๆ เพราะเข้าใจผิด คิดว่าเราก้าวหน้าได้ช้า 

ทำไมกันนะ ทำไมเราถึงพูดภาษาได้ไม่คล่องเสียที ต่อไปนี้ แม่สาลี่คิดว่าพวกเราควรเลิกตำหนิติเตียนตัวเองได้แล้ว แน่นอนว่า การเรียนภาษาเป็นการเดินทาง ไม่ใช่ความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นได้เพียงข้ามคืน ไม่ว่าคุณจะเกิดมาแบบเป็นเจ้าของภาษา หรือคิดจะเริ่มเรียนภาษาใดๆ เป็นภาษาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ล้วนเป็นการเดินทางที่ต้องใช้เวลาและการฝึกฝนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ล้วนเหมือนกัน

แม่สาลี่ย้ำ👄👄อยู่เสมอว่า สิ่งสำคัญที่สุดในการเรียนรู้ภาษาก็คือ การฟัง👂และการ "เลียนแบบหรือก็อปปี้📑" นั่นเอง จึงกล่าวได้ว่าเราไม่สามารถเว้นจากการฝึกฟังไปได้เลย เพราะถ้าเราไม่เคยได้ยินการออกเสียงที่ถูกต้อง แม้เราจะสะกดคำศัพท์นั้นได้ แต่เราจะไม่สามารถเข้าใจเมื่อเราได้ยินเสียงคำนั้นได้เลย เพราะเสียงที่เราได้ยินมันไม่ตรงกับเสียงที่เราบันทึกไว้ในสมองนั้นเอง เราจึงเสมือนได้ยินคำใหม่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งแท้ที่จริงแล้ว มันก็คือคำศัพท์ที่สะกดแบบเดียวกันกับที่เราจำมานั่นเอง เช่น ถ้าเราออกเสียงคำว่า hour ว่า /ฮาว/ เราจะไม่เข้าใจเมื่อฝรั่งออกเสียงที่ถูกต้องว่า /อ้าวเออรฺ/ เลย  

การเรียนรู้ภาษาเปรียบเสมือนการถอดรหัส เมื่อสมองของคุณได้รับรู้ถึงเสียงในภาษาใดๆ สมองของคุณจะเริ่มแปลความหมายของสิ่งที่ได้ยินนั้น การเรียนรู้ภาษาจึงเรียกว่าเป็น "ประสบการณ์" หรือการเดินทางที่ต้องใช้เวลา เพราะเมื่อสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับการได้ยินรับรู้ถึงเสียงในสถานะสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง สัญญานั้นจะถูกส่งไปยังประสาทส่วนรับรู้การได้ยิน ซึ่งสมองในส่วนนี้จะทำหน้าที่รับรู้และประมวลผลเสียงที่ได้ยิน พร้อมส่งสัญญาณนั้นไปยังสมองซีกซ้ายที่มีหน้าที่คอยแยกแยะว่าเสียงที่ได้รับมานั้นเป็นลักษณะคำแบบใดมีความหมายใดเพื่อค้นหาว่าเราควรมีการโต้ตอบเสียงหรือคำที่ได้รับมานั้นได้รูปแบบใด

สมองซีกขวาจะทำงานช่วยกันในการวิเคราะห์เพื่อสร้างและประกอบเสียงเหล่านี้ขึ้นมาเป็นประโยคในท้ายที่สุด ดังนั้น สมองของเราจึงมีหน้ารับสาร สืบค้น จดจำและแปลคำหรือวลีด้วยหน่วยความจำที่ฝังลึกอยู่ในสมองเขาเรา เรียกได้ว่าสมองของเราเป็นซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่มีความสามารถอันไร้ขีดจำกัดทีเดียว

🔶🔶ความยากลำบากของคนไทยในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเกิดจากการที่เราไม่มีเสียงหลาย ๆ เสียงในภาษาอังกฤษ เช่นเสียง /r/ หรือเสียง /th/ เป็นต้น ทำให้คนไทยไม่สามารถแยกแยะเสียง /r/ ออกจากเสียง /l/ ซึ่งเป็นเสียง /ล/ ในภาษาไทยออกจากกันได้ 🡺 ทำให้เกิดปัญหาในการประมวลผลและการทำความเข้าใจ ตรงนี้เอง 📢 เราต้องฝึกทั้งเรื่องการได้ยินและออกเสียงเสียงพยัญชนะที่ภาษาของเราไม่มี สำคัญที่สุดคือ คนไทยต้องเพิ่มการฝึกฟังเพื่อจดจำและทำให้การเรียนรู้ภาษานั้นกลายไปเป็นส่วนหนึ่งของความจำในระยะยาว♾️ เพราะเมื่อเราฝึกและจดจำคำศัพท์หรือประโยคที่ใช้บ่อยๆ จนกลายเป็นความจำในระยะยาว (long-term memory) แล้ว สมองของเราจะประมวลผลเมื่อได้ยินคำหรือประโยคนั้นโดยอัตโนมัติหรือโดยสัญชาติญาณนั่นเอง และนั้นคือสิ่งที่เราเรียกว่า "ความคล่อง หรือ fluency" นั่นเอง เพราะเมื่อเราได้ยิน สมองจะดึงคลังคำจากความจำระยะยาวนี้ขึ้นมาใช้ได้อย่างทันท่วงทีและรวดเร็ว มันฟังปุ๊ป จะเก็ทปั๊ปแบบนั้นเลย 

ดังนั้น💟 การเรียนภาษา จึงไม่ใช่แค่รู้ว่า คำนี้แปลว่าอย่างไรเท่านั้น แต่มันต้องเกิดจากการได้ยินและทบทวน (รีวิว) 🔎 สิ่งที่รู้มาบ่อยๆ อีกด้วย ทำยังก็ได้ ให้สิ่งที่เรียนรู้มามันจดจารอยู่เป็นความทรงจำในระยะยาวในสมองของเรา เพื่อที่เวลาที่เราต้องการทำนำมันมาใช้ มันจะเด้งขึ้นมาเองโดยที่เราไม่ต้องใช้เวลาในการนึกถึงคำศัพท์เหล่านั้นนานเกินไป (หรือที่คนไทยเรียกว่า พอเข้าใจนะ แต่พูดไม่ออก มันไม่รู้จะพูดยังไง) นั่นก็เป็นเพราะว่าเราอ่อนซ้อม และคำศัพท์หรือโครงสร้างประโยคนั้น มันยังไม่ได้รับการรีวิวหรือทบทวนบ่อยพอที่จะกลายเป็นความทรงจำในระยะยาวนั้่นเอง

ในบทความต่อๆ ไป แม่สาลี่จะมาบอกวิธีการให้ว่า สำหรับผู้ใหญ่นั้น เราจะสามารถเรียนภาษาที่ 2 หรือที่ 3 ให้สำเร็จได้แบบง่ายๆ ได้อย่างไร นะคะ ใครมีประสบการณ์อะไร ก็สามารถส่งหรือคอมเมนท์มาแชร์กันได้นะคะ 

------------------------------------------------------
If someone tells "You can't", they are showing you their limits,
NOT YOURS.
ถ้ามีใครบอกคุณว่า "คุณทำไม่ได้หรอก" นั่นคือ เขากำลังแสดงให้คุณเห็นถึงขีดจำกัดของเขา
ไม่ใช่ --ขีดจำกัดของคุณ-- 
................................................................
FACEBOOK PAGE: สร้างลูก 2 ภาษา by MommySali (@Mommysali)
084 769 6000 (ปรึกษาได้ระบายได้)
Website: http://www.krusali.comTiktok: @MommySali
Line: กดเลย http://line.me/ti/p/sTXNVibyNv

แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น