Advertisement

Main Ad

ถ้าไร้ซึ่ง "กริยา" (Verb) คนเราจะบอกรักกันได้ยังไง ตอนที่ 3

ถ้าไร้ซึ่ง "กริยา" (Verb) คนเราจะบอกรักกันได้ยังไง ตอนที่ 3

OMG นานมากแล้วนะคะ ที่สาลี่ไม่ได้เข้ามาสอนแกรมมาร์กันเลย (ที่จริงก็เรียกได้ว่าสาลี่หายหัวไปเลยทีเดียว) แห่ะๆ แต่ตอนนี้กลับมาแล้วค่ะ กลับมาช่วยเติมเต็มในส่วนของ "กริยา Verb" ให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้น เพราะครั้งก่อนที่สอน กริยาตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ไป สาลี่กลับยังไม่ยอมสอนกริยา ตอนที่ 3 เสียนี่


จำกันได้ไหมคะว่ากริยาตอนที่ 1 นั้น เกี่ยวกับกริยาช่วย หากจำไม่ได้ คลิก ที่นี่ เพื่อทวนความจำกันได้เลย (เพราะตอนที่ 3 นี้ เราจะเน้นที่ กริยาเทียม หรือ กริยาเทยกันอย่างเดียวนะคะ (แปลไทยเป็นไทยว่ากริยาไม่แท้นั่นเอง))


ส่วนกริยาตอนที่ 2 นั้น เกี่ยวกับกริยาแท้ หากจำไม่ได้ คลิก ที่นี่ เพื่่อทวนความจำเลยค่ะ ~(^_^)~ 


สาลี่ขอเกริ่นก่อนว่า ตอนที่ 3 นี้ จะเป็นการสาธยายเกี่ยวกับกริยาเทียม กริยาเทย กริยาไม่แท้ ทั้งหมดเลยนะคะ ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากในการอ่านภาษาอังกฤษที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน เพื่อนทรยศ ให้เข้าใจได้อย่างถ่องแท้ 


"กริยาเทียม" "กริยาไม่แท้" หรือ "กริยาเทย" นี้ (ใช้สีม่วงเลยเว้ย) ไม่ใช่กริยาแท้ นั่นหมายความว่า กริยาเหล่านี้ไม่ต้องไปผันหรือเปลี่ยนแปลงตามประธาน เหมือนกับกริยาแท้ (ที่เป็นคู่รักคู่ตุนาหงันของประธาน) พูดง่ายๆ กริยาเทียม จะเหมือนกับ "กิ๊ก" เท่านั้น เกี่ยวข้องได้ แต่ห้ามแสดงออกและห้ามเรียกร้องใดๆ ทั้งนั้น (get (อา)รมณ์ ปะ -- อันนี้น้องสาวชอบพูดค่ะ ฟังแล้วกวนอารมณ์ได้ดีแท้) 


กริยาเทียม จึงแบ่งออกเป็น 3 อย่างเท่านั้น ขอเรียกง่ายตามสไตล์ครูสาลี่นะคะ (แต่จะวงเล็บคำศัพท์ทางการไว้ด้วย เผื่อคนอื่นเขาเรียกกัน เราจะได้ get got gotten ไม่ต้องห่วงค่ะ ^^")


1. Verb ช่อง 0 (ศูนย์) -- Infinitive โดยทั่วไปกริยามี 3 ช่อง ได้แก่ (1) กริยาช่อง 1 (2) กริยาช่อง 2 และ (3) กริยาช่อง 3 >> สาลี่ขอสอนเพิ่มอีกหนึ่งช่อง คือ กริยาช่อง 0 (ศูนย์) นะคะ เพราะอะไรน่ะหรือคะ ก็เพราะ กริยาช่อง 1 - 2 - 3 นั้น เป็น "กริยาแท้" แต่ในขณะที่ กริยาช่อง 0 เป็นกริยาเทียมค้า


แล้วกริยาช่อง 0 นี่ มันหมายความว่ายังไงเอ่ย ???
กริยาช่อง 0 (หรือภาษาทางการเรียกว่า Infinitive)-- คือ กริยาที่ไม่เปลี่ยนรูป และ ไม่ต้องเติมอะไรทั้งสิ้น (ไม่ต้องเติม s, es/ ไม่ต้องเติม -ing/ ไม่ต้องเติม ed/ ไม่ต้องแปลงร่าง เหมือนกริยาช่อง 2 และช่อง 3
ตัวอย่าง 
  กริยา "be"     -- ช่อง 0 คือ be
                           -- ช่อง 1 คือ is, am, are
                           -- ช่อง 2 คือ was, were
                           -- ช่อง 3 คือ been


  กริยา "go"     -- ช่อง 0  คือ go
                           -- ช่อง 1 คือ goes (ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ ที่ไม่ใช่ I, you), go (ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ -- มากกว่า 1 นะคะ)
                           -- ช่อง 2 คือ went 
                           -- ช่อง 3 คือ gone


  กริยา "like"   -- ช่อง 0  คือ like
                           -- ช่อง 1 คือ likes (ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ ที่ไม่ใช่ I, you), like (ถ้าประธานเป็นพหูพจน์ -- มากกว่า 1 นะคะ)
                           -- ช่อง 2 คือ liked 
                           -- ช่อง 3 คือ liked


understand understood understood ไหมค้า??

กริยาช่อง 0 ส่วนใหญ่ จะเป็นกริยาช่อง 0 แบบที่มี to ตามหลัง ซึ่งเราจะเรียกว่า กริยาช่อง 0 with to หรือ "infinitive with to" แบบนี้ไม่ต้องจำ เพราะมันมากมายค่ะ จำไม่หมด เลิกเรียนอังกฤษก่อนแน่ๆ แห่ะๆ

เช่น I want to go to Central this evening. 

สาลี่ว่าเรามาจำ กริยาช่อง 0 without to (แบบไม่มี "to" ต่อท้าย) เลยดีกว่าค่ะ 


กริยากลุ่มที่สาลี่จะกล่าวต่อไปนี้ เขาเรียกกันว่า "power verb" ค่ะ เพราะเจ้า กริยา เหล่านี้ ทำให้ กริยาอีกตัว ที่ตามหลัง กรรมของ power verbs เหล่านี้ กลายเป็น infinitive without to หรือ Verb ช่อง 0 ค่ะ


เวลาจำ จำง่ายๆ ว่า กริยาเหล่านี้เป็นกริยาที่เกี่ยวกับ "ความรู้สึก" หรือ senses ค่ะ มาลุยกันเลย


หู -- hear (ไม่ได้ด่านะคะ 55+ แปลว่า "ฟัง")/ overhear (ไปบังเอิญได้ยินเขามา [แบบผู้ที่นินทาเราอยู่ไม่รู้ตัว ประมาณนี้])


จมูก -- smell (ดมค้า)


ตา -- see (ดู)/ watch (มอง)/ notice (สังเกต)/ observe (สังเกต)/ behold (สังเกต)


สมอง -- feel (รู้สึก)/ sense (รู้สึก)/ perceive (รับรู้)/ know (รู้)


และ MAKE/ LET/ HELP/ BID


เช่น I saw him go there alone. (ฉันเห็นว่าเขาไปที่นั่นคนเดียวนะ)
My mom helps me clean my house. (แม่ฉันช่วยฉันทำความสะอาดบ้านฉัน -- "ฉัน" เยอะจริงวุ้ย) 
 พูดง่ายคือ Power Verbs เหล่านี้ มีโครงสร้างแบบนี้ค่ะ 
Power Verbs + กรรม + V. ช่อง 0 
2. Gerund คือ กริยาที่เปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็น "คำนาม" นะคะ เปลี่ยนยังไงอ่ะ -- ก็เปลี่ยนด้วยการเติม -ing ไงคะ 


   เช่น swim >> swimming การว่ายน้ำ 
           walk >> walking การเดิน


Gerund สามารถเจิดจรัสอยู่ในตำแหน่งต่างๆ ในประโยคได้ดังนี้ค้า


(1) เป็นประธานของกริยา เช่น Walking makes you healthy. 
(2) เป็นกรรมของกริยา เช่น Sarah hates swimming
(3) เป็นกรรมของบุพบท เช่น They left without paying. (ปัดโถ ปัดโถ จากไปโดยไม่จ่ายเงินกรูเลย)
(4) ตามหลัง go หรือ come เช่น Tom goes fishing every weekend.


กริยาเหล่านี้ ตามหลังด้วย gerund นะคะ -- จำได้ไม่หมดไม่เป็นไรนะคะ เอาแต่ตัวสำคัญ เจอกันบ่อย ๆ ก็พอค่ะ 


mind (รังเกียจ) -- Do you mind opening the window for me?
avoid (หลีกเลี่ยง) -- Avoid traveling at night. 
deny (ปฏิเสธ) -- He denies helping her.
finish (เสร็จ) -- I have just finished doing my homework. 
enjoy (สนุกสนาน) -- My mom enjoys watching TV show. 
stop (เลิก/หยุด) -- I can't stop loving you


can't bear/ can't resist/ can't help/ can't stand = ทนไม่ได้
-- She can't stand living with him because he is very selfish. 


go on/ keep on = ทำต่อไป
-- My heart will go on loving you. 


to be used to/ to be accustomed to = คุ้นเคยกับ
-- Thomas is used to living alone.


กรี๊ด จะบ้าไปแล้ว หรือยังค้า วันนี้สอนเรื่องนี้ เครียดไปหรือเปล่าเอ่ย แต่เอาเป็นว่า รู้ไว้ดีกว่าไม่รู้นะคะ :D 



3. Verb -ed หรือ Verb -ing แบบลอยๆ  คือ กริยาช่อง 3 (เติม -ed) หรือ กริยา เติม -ing) นะคะ 


  V- ing ลอยๆ เราจะเรียกว่า Present Participle 
ในขณะที่
  V. -ed ลอยๆ เราจะเรียกว่า Past Participle



Participle สามารถเจิดจรัสได้ในตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ค่ะ 
(1) เป็นส่วนหนึ่งของ Verbs ใน Tense ต่างๆ 
      He is dancing.  อยู่ใน Present Continuous. 
      They have danced for four hours. อยู่ใน Present Perfect.
(2) เป็น Adjective (ขยายนามนะคะ) 
      ที่มา: Verb. -ing แบบลอยๆ (Present Participle)
      (1) The woman is a doctor.
      (2) The woman is standing in front of the market


      รวมประโยคสิคะ 
      The woman (who is standing in front of the market) is a doctor. 
ประโยคในวงเล็บ ตั้งแต่ who ไปจนถึง market เป็นส่วนขยาย ของคำนามเพียงคำเดียว นั่นก็คือ "the woman"  ที่เราต้องใส่ "who" เข้ามา ก็เนื่องจาก คำที่เราต้องการขยายเป็นคน (woman) ไงคะ ถ้าเป็นสิ่งของ เราก็จะใช้คำว่า "which" แทนค้า 


คราวนี้สาลี่จะทำศัลยกรรมตกแต่งประโยคนิดนึงนะคะ ด้วยการตัด "who is" ออก ให้เหลืองเพียง present participle หรือ Verb -ing แบบลอยๆ นะคะ 


จะได้เป็น The woman, standing in front of the market, is a doctor.


ประโยคหลัก คือ The woman is a doctor. ผู้หญิงคนนั้นเป็นหมอ ผู้หญิงคนไหนอ่ะ (แหม แหม ก็ผู้หญิงที่ยืนอยู่หน้าตลาดไงเธอ)


สังเกต: เมื่อ Present Participle หรือ V.-ing ลอยๆ ทำหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ด้านหน้าตัวใด โปรดสังเกตค่ะว่า คำนามนั้น จะทำกริยานั้นเอง เช่นในประโยคตัวอย่าง ผู้หญิงคนนั้น เป็นคนยืนอยู่หน้าตลาดเอง 



ที่มา: Verb. -ed แบบลอยๆ (Past Participle)
      (1) The woman is a doctor.
      (2) The woman was slapped in front of the market.  (ถูกตบหน้าตลาด) to be + V ช่อง 3 ในที่นี้คือ was + slapped คือ "ถูกตบ" นะคะ เป็นโครงสร้างแบบ Passive Voice สาลี่จะสอนในโอกาสหน้าค่ะ


      รวมประโยคสิคะ 
      The woman (who was slapped in front of the market) is a doctor. 
ประโยคในวงเล็บ ตั้งแต่ who ไปจนถึง market เป็นส่วนขยาย ของคำนามเพียงคำเดียว นั่นก็คือ "the woman"  ที่เราต้องใส่ "who" เข้ามา ก็เนื่องจาก คำที่เราต้องการขยายเป็นคน (woman) ไงคะ ถ้าเป็นสิ่งของ เราก็จะใช้คำว่า "which" แทนค้า 


คราวนี้สาลี่จะทำศัลยกรรมตกแต่งประโยคนิดนึงนะคะ ด้วยการตัด "who was" ออก ให้เหลืองเพียง past participle หรือ Verb -ed แบบลอยๆ นะคะ 


จะได้เป็น The woman, slapped in front of the market, is a doctor.


ประโยคหลัก คือ The woman is a doctor. ผู้หญิงคนนั้นเป็นหมอ ผู้หญิงคนไหนอ่ะ (แหม แหม ก็ผู้หญิงที่ถูกตบหน้าตลาดไงเธอ)


สังเกต: เมื่อ Past Participle หรือ V.-ed ลอยๆ ทำหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ด้านหน้าตัวใด โปรดสังเกตค่ะว่า คำนามนั้น จะถูกกระทำกริยานั้น (ซวยนั่นเอง) ซึ่งจะแตกต่างจากที่สาลี่อธิบายไปในไฮไลท์สีน้ำเงินนะคะ อย่างในประโยคตัวอย่าง ผู้หญิงคนนั้น เป็นคนถูกตบที่หน้าตลาด ไม่ใช่ตบตัวเองหรือไปตบคนอื่นนะคะ 


กรี๊ด ๆ อย่าว่าแต่คนอ่านจะบ้าเลยนะคะ คนสอนเองก็จะสิ้นใจตายอยู่ตรงหน้าคอมพิวเตอร์แล้ว เพราะการเขียนสอนแกรมมาร์นี่มันช่างยากเย็นเสียจริงๆ ประกอบกับเรื่องนี้มันยากมากเสียด้วย ฟิ้ว+ แต่ถ้างง ไม่เข้าใจ ถามสาลี่ได้เลยนะคะ ยินดีอธิบายค่ะ 

 จบ









แสดงความคิดเห็น

11 ความคิดเห็น

  1. หายไปนาน ไม่รู้ว่าครูสาลี่หาย หรือพี่เอิงหาย...แต่ที่แน่ๆ กลับมาพร้อมสาระและความบันเทิง พร้อมเทคนิคช่วยให้เข้าใจง่ายๆ ก็ยังมีเหมือนเดิม ชอบจริง ชอบจัง กริยาเทียม และกริยาเทย // ขอบคุณมากนะค่ะที่ได้เพิ่มเสริมเติมความรู้ให้พี่เอิงและอีกหลายๆ คนมากมาย...

    ตอบลบ
  2. เรื่องนี้สาลี่เขียนเหนื่อยเลยค่ะพี่เอิง เกรงว่าคนอ่านจะไม่เข้าใจ อ้อ ส่วนคนที่หายหน้าเนี่ยะ เป็นสาลี่เองล่ะค่ะ อิอิ แต่ดีใจนะคะที่พี่เอิงเข้ามาอ่านเหมือนเดิม

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ15 มีนาคม 2555 เวลา 16:08

    เรื่องนี้ยากจริง อะไรจริง อ่านแล้วมึนจริงๆ แต่ที่แน่ๆฉลาดขึ้นมาอีกนิดจากบทความของครูสาลี่อีกแล้วค่ะ ซึ้งใจเหลือเกิน ^^ ขอบคุณความรู้ดีๆที่แบ่งปันนะคะ

    ปล.อยากอ่านเรื่องอื่นๆที่เหลือแล้วคะ ครูสาลี่รีบมาอัพนะคร๊าาาาา รออยู่ค่ะ

    อนุ

    ตอบลบ
  4. เมื่อไรคุณครูจะเขียนเรื่องต่อไปค่ะ หนูติดตามผลงานของครูอยู่นะค่ะ ครูเขียนเข้าใจมากที่สุด กว่าหนังสือที่เคยอ่านมา

    คือว่าหนูไม่เก่ง แกรมม่า แต่ว่า อยาก พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษได้ ครูสาลี่ พอ มีหนังสือ หรือ อะไรแนะนำไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ

    ตอบลบ
  5. :D ขอบคุณค่ะคุณอนุ และ คุณ SPK
    สาลี่จะเขียนเรื่องใหม่สงกรานต์นี้ค่ะ
    เรื่อง ADJ นะคะ ^^"

    ค่อยๆ อ่านและค่อยๆ ศึกษา สักวันต้องเก่งแน่นอนค่ะ เอาใจช่วย อิอิ

    ตอบลบ
  6. อยากเก่งภาษาอังกฤษอย่างแรงครับ พี่ ต้องทำอย่างไรครับ นอกจากฝึก T^T

    ตอบลบ
  7. คุณครูครับ อยากรู้ว่าบอกไอเลิฟยูต้องออกเสียงยังไงให้ได้คำตอบว่าไอเลิฟยูทูครับ^^

    ตอบลบ
  8. กริยาช่อง 0 ส่วนใหญ่ จะเป็นกริยาช่อง 0 แบบที่มี to นำหน้า

    overhear ต้องแปลว่า "บังเอิญได้ยิน"

    ตอบลบ
  9. ขอบคุณ "ความเห็นข้างบน" นะคะ
    สาลี่แก้ไขแล้วค่ะ

    ขออภัยในความผิดพลาดและขอบคุณที่เข้าตักเตือนกันค่ะ ^^

    ตอบลบ
  10. พอจะเข้าใจมากขึ้นแล้ว
    ขอบคุณครูสาลี่มากเลยคะ

    ปล,, จะรออ่านเรื่อง Passive Voice น้า =~=


    JwOow

    ตอบลบ
  11. ไม่ระบุชื่อ2 ธันวาคม 2555 เวลา 08:15

    คุณสาลี่อ่านนะ ขอบคุณมากๆ เลย ที่ไม่หวงวิชาทำให้คนอื่นมีความรู้มากขึ้น

    ตอบลบ

ทักทาย แสดงความคิดเห็นหรือถามคำถามได้ ที่นี่ เลยค่ะ