Advertisement

Main Ad

ความแตกต่างระหว่าง "What does he like?" กับ "What is he like?"

 ความแตกต่างระหว่าง "What does he like?" กับ "What is he like?"

การทำความเข้าใจในเรื่องนี้ไม่ได้ยากอย่างที่คิดค่ะ เพียงแค่เรารู้หน้าที่ของคำ เท่านั้นก็ "สบายบรื้อแล้ว" คำที่เป็นประเด็นในเรื่องนี้คือ คำว่า "like" ซึ่งสาลี่อยากจะชวนเม้าท์ว่า "like" นี่ก็เป็นอีกคำหนึ่งที่มีความมหัศจรรย์มาก เพราะตัวมันเองสามารถเปลี่ยนสถานภาพไปได้หลายอย่างในประโยค

พร้อมกันยังคะ ... มา...มาดูกัน


สถานภาพที่ 1 -- คำว่า "like" ใช้เป็นกริยาหลักในประโยค เพื่อนๆ รู้ใช่ไหมคะว่ากริยาหลักในประโยคคืออะไร ใช่แล้ว...กริยาหลักในประโยคก็คือ กริยาที่ต้องผัน (1) ตามประธาน และ (2) ตาม tense หรือเวลาที่กริยานั้นเกิด หากไม่มีกริยาหลักในประโยค เราจะงงทันที เพราะไม่เข้าใจว่า ประธานทำอะไร

เมื่อเราใช้คำว่า like เป็นกริยาหลักในประโยค มันจะมีความหมายว่า "ชอบ" ที่จะทำอะไร โครงสร้างที่เจอกันบ่อยๆ คือ (1) ประธาน like to do something และ (2) ประธาน like doing something ทุกคนเลือกใช้ได้เลยค่ะ ไม่ว่าจะใช้โครงสร้างไหนก็มีความหมายเหมือนกัน คือ บอกความชอบของประธาน

เช่น He likes to dance alone. หรือ He likes dancing alone.
ไม่ว่าจะยังไง เขาก็ชอบแดนซ์ดิ้นคนเดียว วะฮ่าๆๆ เต้นกับคนอื่นมันเขินนี่นา

ปัญหาอยู่ที่ เพื่อนๆ รู้ไหมว่า เมื่อเราต้องสร้างประโยคคำถาม กริยาแท้ในโลกทั้งมวลที่ไม่ใช่ กริยาช่วย จะต้องอาศัยบารมีของ Verb to do (do, does , did) มาช่วยเสมอ

ดังนั้น เมื่อ "like" เป็นกริยาแท้ในประโยค และเราต้องการตั้งประโยคคำถาม จึงต้องอาศัยบารมีของ Verb to do มาช่วย เราก็จะได้เป็น --> What does he want to do alone? เห็นไหมคะ ว่า he ใช้กับ does ไม่ใช่ do แต่ถ้าประธานเปลี่ยนเป็น they เราก็ต้องผัน Verb to do ตามประธานด้วยเช่นกัน ก็จะได้ What do they want to do alone? (ไม่ยาก -- แค่จำไว้ว่า กริยาต้องผันตามประธาน เมื่อกริยาช่วยผันตามประธานแล้ว กริยาแท้ ก็ไม่ต้องผัน ปล่อยให้กริยาช่วยทำหน้าที่ของมันไป กริยาแท้ก็ชิลล์ๆ อยู่เฉยๆ ไม่ต้องทำอะไร

การทำประโยคปฏิเสธ ก็ใช้หลักการเดียวกันกับการทำประโยคคำถามที่สาลี่ได้อธิบายไปด้านบนเลยค่ะ พูดอีกรอบ ก็คือ เราใช้ Verb to do มาเป็นกริยาช่วยเหมือนกัน แล้วก็เติมแค่ 'not' เข้าไปหลังกริยาช่วย

มาดูตัวอย่างกัน He does not (doesn't) want to dance alone. ถ้าประธานเป็น they ก็เปลี่ยน does ไปเป็น --> do = They do not want to dance alone.

ดังนั้น ประโยคที่ว่า What does he like? คำว่า like จึงเป็นกริยาแท้ เพราะมี การนำ do, does มาช่วยในการตั้งประโยคคำถาม ในเมื่อ like เป็นกริยาแท้ในประโยค มันจึงมีความหมายว่า "ชอบ" ประโยคนี้จึงแปลว่า เขาชอบอะไรนั่นเอง ถามเอาความข้อมูลเกี่ยวกับความชอบของเขา

สถานภาพที่ 2 -- ใช้คำว่า "like" เป็น preposition ในกรณีนี้ สาลี่บอกได้เลยว่า like จะไม่ได้แปลว่า "ชอบ" อีกต่อไป และมันไม่ได้มีหน้าที่เป็นคำกริยาแล้ว ดังนั้น เมื่อมันไม่ใช่กริยาหลักในประโยค มันจะแปลว่า "เหมือน" ลองมาดูตัวอย่างกัน

Don't look at me like that.

เห็นไหมคะ กริยาแท้ในประโยคคือ look แปลว่า มอง กริยาช่วยในประโยคคือ do เพราะเรานำมาทำเป็นประโยคปฏิเสธแบบคำสั่ง ประโยคนี้แปลว่า อย่ามองฉันแบบนั้น ตรงนี้ถ้าใครไม่รู้ และแปล like ว่าชอบ สาลี่บอกเลยว่า "จบเห่" ค่ะ เทคนิคคือ ลองหากริยาแท้ในประโยคก่อนนะคะ เราก็จะรู้ได้เองว่า like นี้เป็นกริยาแท้ที่แปลว่า "ชอบ" หรือเป็น preposition ที่แปลว่า "เหมือน"

สถานภาพที่ 3 -- ใช้คำว่า "like" เป็น preposition ในประโยคคำถาม มันจะไม่ได้แปลว่าเหมือนอีกแล้ว แต่จะใช้เป็นการถามความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น

A: Mike has been promoted to be our new boss.
B: Oh. Have you met him yet? How is he like?

กริยาหลักในประโยคนี้คือ V. to be (is, am, are, was, were) like จึงไม่มีทางเป็นกริยาหลักในประโยคได้เลย ดังนั้น อย่าไปแปลว่า "ชอบ" นะคะ ประโยคนี้ใช้ถามความเห็นที่ A มีต่อเจ้านายคนใหม่ (new boss) นั่นเอง ว่า เขาเป็นยังไงบ้าง สูงต่ำดำขาว ใจดี โหดเหี้ยมอำมหิตหรือไม่ ^^

สถานภาพที่ 4 -- ใช้คำว่า "like" เป็น conjunction หรือคำสันธานนั้นเอง สาลี่เคยสอนไว้เมื่อนานมาแล้วว่า คำสันธาน ก็คือ สะพาน ใช้เชื่อมคำ วลีและประโยคนั่นเอง (อันนี้จำไว้ให้ดี เพราะว่าสำคัญมาก หากหลักแน่นแล้ว ทุกอย่างจะเลิศมากค่ะ) มีความหมายว่า "เหมือนกับที่"

เดี๋ยวพอทุกคนได้ดูตัวอย่างประโยค จะเข้าใจมากขึ้นค่ะ

No one sings karaoke like she did. 
ไม่เคยมีใครร้องคาราโอเกะได้เหมือนกับที่เธอร้อง

สังเกตนะคะ หลังคำว่า like เป็นประโยค (ประธาน + กริยา) ซึ่งก็คือ -she did- ด้านหน้า like เป็นประโยคเช่นกัน -no one sings karaoke- คำสันธานก็มีหน้าที่ในการเชื่อมหรือเป็นสะพานนั่นเอง เชื่อมประโยคหน้าและประโยคหลังเข้าด้วยกัน (ใครนึกภาพไม่ออก and ก็เป็นคำสันธานนะคะ)

เอาล่ะค่ะ ใครอ่านแล้ว get got gotten ก็คอมเมนท์บอกสาลี่ได้นะคะ ถ้ามีอะไรต้องอธิบายเพิ่มเติม วันหลังจะได้มาอธิบายกันค่ะ 


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น