Advertisement

Main Ad

ถ้าไร้ซึ่ง "กริยา" (Verb) คนเราจะบอกรักกันได้ยังไง ตอนที่ 2

ถ้าไร้ซึ่ง "กริยา" (Verb) คนเราจะบอกรักกันได้ยังไง ตอนที่ 2


เหมือนนานมากแล้วนะคะที่สาลี่ไม่ได้เขียนสอนแกรมมาร์ (จริงๆ เพิ่งเขียนไปเมื่ออาทิตย์ก่อนเอง อิอิ...จำกันได้หรือเปล่าเอ่ย) สาลี่มีเรื่องมากมายที่อยากเขียนค่ะ แต่ค่อยๆ แล้วกันเนอะ ทีละเรื่อง ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม สมมุติว่าจำกันไม่ได้ -- ครั้งที่แล้วสาลี่สอนกริยา ตอนที่ 1 ไปแล้ว ซึ่งเป็นตอนที่เกี่ยวกับ กริยาช่วยล้วนๆ เลยค่ะ หากคุณหลงเข้ามาในวังวนแห่งแกรมมาร์ ก่อนอ่านตอนนี้ เข้าไปอ่านตอนที่ 1 ก่อนนะคะ :) คลิกที่นี่


"ทวนก่อน"
สาลี่ขอแบ่งกริยาออกเป็น ประเภท  คือ


1. กริยาช่วย - มีหน้าที่ช่วยชาวบ้าน (ในที่นี้คือ กริยาแท้ตัวอื่นๆ ในประโยค) สอนไปแล้วตอนที่ 1 ต้องการอ่าน คลิกที่นี่

2. กริยาแท้ - ตัวที่บอกใจความหลักในประโยคว่าประธานทำอะไร หากไม่มีกริยาแท้ในประโยค มันก็จะไม่เป็นประโยคโดยเด็ดขาดค่ะ "กริยาประเภทที่ 2 นี้จะตกหลุมรักกับประธาน หมายความว่า ประธานเป็นอะไร กริยาก็ต้องผันตามประธานไปด้วยเช่นกัน" อ่านเรื่องราวความรักของกริยาแท้ กับ ประธานได้ที่นี่ 


3. กริยาไม่แท้ - กริยาตัวนี้ ไม่ใช่รักแท้ของประธานเหมือน กริยาประเภทที่ 2 เพราะฉะนั้น กริยาไม่แท้ จะไม่มีทางผันไปตามประธานเป็นอันขาดค่ะ (และนี่คือข้อแตกต่างระหว่าง กริยาแท้ และ กริยาไม่แท้ค่ะ -- ตรงนี้ต้องจำให้ได้นะคะ)


************************************************
วันนี้มาต่อกันที่ "กริยา" ประเภทที่ 2 หรือกริยาแท้ นั่นเอง

กริยาแท้ = กริยาที่ "หลงรัก" กับประธานค่ะ "เรื่องราวความรักของ ประธาน และ กริยา" มีดังนี้ค่ะ

เรื่องเล่าก่อนเรียน (โปรดอ่านเพื่อ ความเข้าใจ ที่ง่ายยิ่งกว่าเดิม อิอิ) นานมาแล้ว ประธาน (Subject) อาศัยอยู่ในบ้านกลางป่าคนเดียว เนื่องจาก เวลาไปคุยกับใครที่ไหน ก็ไม่เคยมีใครเข้าใจเขาเลย อย่างเช่นวันหนึ่งที่เขาไปเจอกับสาวงามที่เป็นที่ใฝ่ฝันของหนุ่มละแวกเดียวกันในหมู่บ้าน เขาได้รวบรวมกำลังใจและพูดกับเธอว่า "ผม ...." "เ่อ่อ....ผม......" หลังจากที่ได้พยายามแล้วพยายามอีกเค๊าก็ไม่สามารถทำให้หญิงคนนั้นเข้าใจเขาได้เลย จนในที่สุด เขาก็คิดว่า การอยู่คนเดียวคงเป็นการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด

แต่แล้ววันหนึ่ง ในขณะที่เขากำลังผ่าฟืนอยู่ ก็มีหญิงสาวน่ารักคนหนึ่ง นามว่ากริยา (Verb) หลงทางมา ท่าทางของเธอเศร้าหมองนัก ด้วยเพราะว่าทุกคนเข้าใจผิดคิดว่าเธอเป็นคนชอบสั่งนู๊นสั่งนี่มาโดยตลอด ตั้งแต่เด็ก เท่าที่เธอจำความได้ เธอก็ได้แต่พูดกับคนอื่นๆว่า "กิน" "เดิน" "เล่น" "รัก" "คิด" จนเพื่อนๆที่อยู่ใกล้เธอเริ่มตีตัวออกห่าง เพราะต่างไม่ชอบการวางอำนาจของเธอ ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจที่จะมาปลีกวิเวกอยู่ท่ามกลางธรรมชาติสักพัก

ประธาน (Subject) ได้เริ่มเดินเข้าไปทักทายกับสาวน้อยคนนั้นว่า " ผม ...." แล้วเสียงเขาก็เงียบหายไปเช่นเดิม ชั่ววินาทีหนึ่งที่ดูยาวนานเป็นหลายนาที ต่างคนต่างไม่มีใครยอมปลิปาก แต่แล้ว กริยา (Verb) สาวน้อยหน้าหวานก็ได้เงยหน้าขึ้น ด้วยความดีใจเป็นครั้งแรกที่เธอมีเพื่อนใหม่เข้ามาทักทาย พร้อมกับพูดว่า "ต้องการ" ทั้งสองคนพูดด้วยกันตามประสาตนเองอยู่สักพัก และไม่นานความสัมพันธ์ของทั้งสองก็เิริ่มพัฒนากลายเป็นเพื่อนสนิท(ที่หลายๆคนไ่ม่อยากเป็น แอบแซว) เพราะทั้งสองมักจะไปไหนมาไหนด้วยกันเสมอ อย่างเช่นเวลาไปเดินตลาด ประธาน (Suject) มักเริ่มพูดว่า "เรา...." กริยา (Verb) ก็จะรีบเสริมทันทีว่า "ต้องการ...." เพียงเท่านี้ ทุกคนก็ล้วนเข้าใจความปรารถนาของทั้งสองคนอย่างง่ายดาย
 ไม่น่าแปลกที่วันหนึ่งไม่นาน หลังจากนั้น ประธาน (Subject) ตัดสินใจที่จะเปิดเผยความในใจกับกริยา (Verb) เมื่อเขาเริ่มพูดว่า "ผม....." กริยา (Verb) ด้วยความคิดเดียวกันก็ตอบกลับออกไปว่า "รัก...." ตั้งแต่นั้นมา ทุกคนก็ได้มีโอกาสแสดงความยินดีกับคู่รักคู่ใหม่ คู่ที่แปลกที่สุดในโลกแต่ก็เป็นคู่รักที่ส่งอิทธิพลต่อคนที่เรียนภาษาอังกฤษทั่วโลกเช่นกัน เพราะตั้งแต่นั้น ทุกคนต่างก็รู้ว่า ประธาน (Subject) และกริยา (Verb) ได้บอกความนัยที่ยิ่งใหญ่ต่อกัน ว่า "ฉันรักเธอ" 
ดังนั้น ทุกครั้งที่เราเขียนหรือเรียนภาษาอังกฤษ เราจึงต้องจำไว้เสมอว่า ประธานหลงรักกริยา และกริยาหลงรักประธานได้อย่างไร เพื่อที่เราจะได้ไม่ลืมว่า ไม่ว่าประธานจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปเช่นไร กริยาก็จะตามรักและปรับตัวเองตามไปเช่นนั้นเสมอ นั่นก็คือที่มาของ การที่เราต้องผันกริยาตามประธานนั่นเอง หรือที่เขาเรียนกันยากๆว่า Subject Verb Agreement
อ่านเรื่อง Subject Verb Agreement คลิกที่นี่


เดี๋ยวสาลี่จะไปเขียนเพิ่มเติมเรื่อง Subject Verb Agreement ให้นะคะ แต่ขอเวลาสาธยายก่อนว่า ที่เราเรียกว่า Verb แท้ หรือ กริยาแท้ เนี่ยะ แบ่งเป็นนกี่อย่าง ขอบอกว่าง่ายอย่าบอกใครค้า  จำไว้ว่ามี แค่ 3 แบบ ได้แก่ 


1. ต้องการกรรม (ประมาณว่าทำกรรมกับเขาไว้เยอะ...เอ้ย ไม่เกี่ยว)
2. ไม่ต้องการกรรม (อยู่โดดๆได้ ไม่ต้องผูกพันสร้างกรรมกับใคร...ตามหลักพุทธศาสนา ว่างั้น)
และ
3. Linking Verb (อันนี้มีเพลงค้า...เดี๋ยวไว้จะร้องให้ฟังนะคะ อิอิ) 

กริยาทั้ง 3 ประเภท เวลานำไปใช้ในประโยค ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ทำไมต้องเปลี่ยนนะหรือ ก็เพราะว่าทั้ง 3 ประเภท ไม่่ว่าจะเป็น "ต้องการกรรม" "ไม่ต้องการกรรม" หรือ "Linking Verb" ต่างก็เป็นกริยาแท้ทั้งสิ้น และจำเรื่องราว "รักแท้" ของประธานกับกริยาได้หรือไม่ (ถ้าคุณลักไก่...ข้ามมาอ่านบรรทัดนี้ก่อน ทั้งๆที่ยังไม่ได้อ่านนิทานข้างบน รบกวนขึ้นไปอ่านก่อนค้า) ถ้าคุณจำได้...คุณก็จะ...เข้าใจ

กริยาแท้ แบบที่ 1 กับแบบที่ 2 ต่างกันแค่ "กรรม" เท่านั้น จำด้วยเหตุผลนะคะ จะได้ไ่ม่ลืม 


กริยาที่ต้องการกรรม -- มันจะเหมือนขาดๆ หายๆ ถ้าเราไม่ีมีคำนามหรือคำสรรพนามที่เป็นกรรมมาต่อท้าย กรรม คืออะไรอ่ะ (55+ บางคนอาจถามอยู่ในใจ) กรรมคือ "คำที่รองรับการกระทำ" 


เช่น "กิน" หรือ eat /อี้ท/ 


คุณพ่อของฉันกิน ... 
(มันขาดๆ แบบว่า อยากรู้ว่า ตกลงพ่อกินอะไรเนี่ยะ กินอะไรน้า)
อะไรแบบนี้ กิน เป็นกริยาต้องการกรรม เราก็เติมคำที่รองรับกริยา "กิน" เข้าไป 
My father eats meat.
My sister eats hamburger. 
(ทำไม eat ต้องเติม 's' หากยังงงอยู่ เข้าไปอ่านได้ที่นี่)


 แต่ถ้าบอกว่า "ปีเตอร์เต้นรำ" เราก็ไม่ต้องสรรหาคำมารองรับกริยาคำว่า "เต้นรำ" แล้ว เพราะไม่สงสัยอีกแล้ว มันครบความในตัวเองค่ะ 


อ๊ะ อะ บางคนอาจเถียงสาลี่ในใจว่า "ก็อยากรู้นี่หว่า ว่าเต้นยังไง เต้นที่ไหน" 


เคล็ดลับในการจำอย่างหนึ่งคือ "กรรม" ส่วนใหญ่ จะตั้งคำถามด้วย ("what" =อะไร) ได้ค่ะ จากตัวอย่างด้านบน "คุณพ่อกินอะไรอ่ะ" หรือ "น้องสาวกินอะไรอ่ะ"


แต่เราไม่ถามว่า "ปีเตอร์เต้นรำอะไรอ่ะ" แต่เราจะถามว่า "ปีเตอร์เต้นรำที่ไหนอ่ะ/ปีเตอร์เต้นรำอย่างไรอ่ะ" แทนใช่ไหมคะ ถ้าเราไม่ได้ถามด้วย "what" สิ่งที่ตามหลัง "เต้นรำ" ก็ไม่ใช่กรรมค่ะ แต่เป็นส่วนขยายต่างหาก แล้วมันขยายอะไรหรือ มันก็ขยายเต้นรำไงคะ 
เช่น Peter dances very happily. ปีเตอร์เต้นรำอย่างมีความสุขมาก Happily ขยายเต้น ว่าเต้นยังไง Happily จึงเป็น Adverb ค่ะ
หรือ
Peter dances outside. ปีเตอร์เต้นอยู่ข้างนอก คำว่า outside ขยายคำว่า "เต้น" ในเมื่อ "เต้น" เป็นกริยา คำที่ขยายกริยา ก็เป็น Adverb ค่ะ :)
 
แสดงว่า "dance" เป็น กริยาที่ "ไม่ต้องการกรรม" 

เอาล่ะค่ะ คราวนี้ลองมาทดสอบกันซิ ว่าจะรู้หรือไม่ว่ากริยาใด ต้องการกรรมและกริยาไม่ต้องการกรรม :)

fly                         go        
          open
                    run
    drink
                                 believe
                  sing
meet

กริยาแท้ 2 ประเภท ผ่านไปแล้วนะคะ 


ส่วนกริยาแท้ ประเภทสุดท้าย หรือ ประเภทที่ 3 นั่นก็คือ Linking Verb ค่ะ "จำง่ายๆ ว่า Linking Verb" เป็นกริยาที่ "นำหน้า adjective" (adjective คืออะไร อ่านที่นี่ค้า)


Linking Verbs มีดังนี้ค่ะ เวลาจำ ให้ร้องเป็นเพลงแบบนี้ค่ะ


พวกเรา be, become, get, grow,seem, appear, look,feel, sound, and smell,turn, taste make everything right,
ท่องจำขึ้นใจ ว่า Linking Verbs.
กริยาจำพวกนี้ สาลี่จะสอนอย่างละเอียดต่อไปในตอน Adjective ค่ะ 

หลัก คือ คำที่ขยายกริยา เราเรียกว่า Adverb (ส่วนใหญ่มักลงท้ายด้วย -ly) แต่เมื่อเราใช้ Linking Verbs แล้ว กริยาที่ตามหลังนั้น เราใช้ Adjective นะคะ เวลาแปลก็แทบจะไม่ต้องแปล Linking Verb เลย 

และถ้าสังเกตให้ดีแล้วละก็ เราจะเห็นว่า เมื่อประโยคประกอบไปด้วย

ประธาน + linking Verb + Adjective 

ตัว Adjective นั้นไม่ได้ขยายกริยาแล้ว แต่ไปขยายประธานแทน (ซึ่งก็ตรงตามหลัก อะไรขยายคำนาม คำนั้นก็เป็น Adjective ไงคะ)
เช่น This soup smells good. ซุปนี้หอมจัง
Taylor looks handsome. เทเลอร์หล่อจัง
good ขยาย soup และ handsome ขยาย Taylor ค้า (พอเข้าใจไหมเอ่ย) 

สัญญาว่าจะไม่ขี้เกียจ 
และจะเข้าไปเติมเรื่อง 
Subject Verb Agreement ให้นะคะ 

แสดงความคิดเห็น

6 ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ18 ตุลาคม 2554 เวลา 12:35

    เข้ามาอ่านครับ ^^
    อ่านแล้วเพลิน+ได้ความรู้ครับ

    ตอบลบ
  2. ูู^^ ขอบคุณค่ะ
    ที่เข้ามาติดตามบล็อกสาลี่

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ20 ตุลาคม 2554 เวลา 12:56

    ตามเข้ามาอ่านค่ะ...แล้วก็ฟังเพลง linking ทำนองสามัคคีชุมนุมด้วย สุดยอดจริงๆ ค่ะ ครูสาลี่ นอกจะเป็นประโยชน์ต่อเด็กๆ นักเรียนแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ใหญ่เช่นพี่เอิงมากๆ เลยค่ะ ขอบคุณมากค่สำหรับความรู้ดีๆ ที่มีประโชยน์เช่นนี้ เดี๋ยวจะเอาไปร้องให้หลานฟังจัา... // พี่เอิง

    ตอบลบ
  4. พี่เอิงขา ชมสาลี่
    สาลี่เขินจะแย่แล้วค้า

    ดีนะคะที่ไม่ให้เห็นหน้า
    อาจจะตกใจได้วันนั้น

    แบบว่าตกใจแล้วลืมที่อ่านหมดเลย (คงไม่ดีแน่ แฮ่ะๆ)

    ตอบลบ
  5. เก่งมากๆเลยค่ะ อ่านแล้วไม่มีเบื่อเลยค่ะ เสียงคุณครูสารี่ก็ไพเราะมากค่ะ ชอบๆๆ จะติดตามตลอดเลยค่ะ

    ตอบลบ
  6. จ๊าบอ่าาา มีอูคูเลเล่ ด้วยยย จ๊าบจุงเบยยย

    ตอบลบ

ทักทาย แสดงความคิดเห็นหรือถามคำถามได้ ที่นี่ เลยค่ะ