Advertisement

Main Ad

คำศัพท์ในสัญญาตอนที่ 3: วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องของ "โดย..."

คำศัพท์ในสัญญา: วันนี้มาว่ากันด้วยเรื่องของ "โดย..."  

:) หายหน้าหายไปขนของมาค่ะ ขนของจากชั้น 1 ขึ้นไปชั้น 2 ขนเสร็จก็มานั่งหอบแฮ๊กๆ พร้อมคิดว่า "เออ...นี่เราแก่ขึ้น หรือเราไม่ค่อยได้ออกกำลังกายนิ" ว่าแล้วก็สรุปว่าเป็นเพราะอย่างหลัง ก็ใครกันเล่าจะยอมรับว่าตัวเองแก่ ^^"

ตอนนี้เชื่อว่าคนไทยหลายๆ คนคงกำลังประสบปัญญาน้ำท่วมอยู่ในขณะนี้ คุณลุงสาลี่ก็ประสบภัยนี้ด้วยเช่นกันค่ะ เวลาที่คนเราต้องประสบทุกข์เรื่องใด เราสามารถใช้ กริยาคำว่า "suffer" /ซัฟ-เฟอะ/ ได้เลยนะคะ เช่น A number of Thai people are now suffering from devastating flood. คนไทยจำนวนมาก (a number of + N. พหูพจน์ = จำนวนมาก นะคะ) กำลังประสบมหัตภัยน้ำท่วม

มาค่ะ มาว่ากันด้วยเรื่องของ "โดย" กันบ้าง

เวลาที่เราอ่านสัญญา  ตอนต้นๆ ของสัญญา หรือ ช่วงอรัมภบท (Preamble)  เราจะเจอคำๆ หนึ่ง ที่ใช้เพื่อบอกให้ผู้อ่านรู้ถึงเหตุผลแห่งการเข้าทำสัญญา หรือที่เราเรียกกันว่า Whereas Clause (แปลแบบกำปั้นทุบดินว่า "ประโยคที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า whereas" 55+ อย่าเคืองสาลี่นะคะ) ซึ่งมันเขียนไว้หลังจากที่บอกว่า สัญญาฉบับนี้จัดทำขึ้นเมื่อ [วันที่] โดยและระหว่าง [by and between] บริษัท ก. และ บริษัท ข. และมักเขียนก่อนหน้าหน้าประโยคที่ว่า "The Parties hereby agree as the following terms." หรืออะไรทำนองนี้ แม้ว่า Whereas Clause จะไม่ได้มีความสำคัญเป็นอันดับแรกในสัญญานั้น แต่ประโยชน์ของ Whereas Clause จะใช้ในการตีความเจตนารมณ์ในการเข้าทำสัญญาของคู่สัญญาค่ะ เมื่อเราเจอคำว่า "whereas" ในสัญญา ขอให้เราแปลว่า "โดยที่..." นะคะ ^^"
WHEREAS, the Parties recognise the benefits of mutual cooperation between the Parties in Internet related issues. โดยที่คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตระหนักถึงผลประโยชน์ของการดำเนินการร่วมกันระหว่างคู่สัญญาในประเด็นอันเกี่ยวกับระบบอินเตอร์เน็ต 

ส่วนเนื้อความในสัญญา ก็มักจะมีการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาว่าจะต้องปฏิบัติตัวเช่นไรกันอยู่แล้ว Adverb หนึ่งที่เจอกันบ่อยสุดๆ ก็คือคำว่า "โดยทันที หรือ โดยพลัน" นั่นเอง คำที่นำมาในใช้บริบทนี้ ก็มักจะเป็นคำว่า "promptly หรือ immediately" นะคะ อ่านว่า /พร้อมท์-ลิี่/ และ /อิม-มี้-เดียท-ลิ่/ :) เช่น
If a party is required to disclose Confidential Information pursuant to this section, the party shall promptly give notice of such requirement to the other party. ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลอันเป็นความลับตามข้อกำหนดนี้ คู่สัญญาฝ่ายดังกล่าวต้องแจ้งถึงความจำเป็นเช่นว่านั้นให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบโดยพลัน/โดยทันที 
ส่วนการเน้นความสำคัญในสัญญาว่า คู่สัญญาต้องการจะหมายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นพิเศษหรือ "โดยเฉพาะ" ให้เราใช้คำว่า "Particularly" /พาร์-ทิ้-คุ-ล่าร์-ลิ่/ นะคะ เช่น
The Company guarantees that all the information it provides PTI is true and accurate, particularly in terms of the data contained on the Confidentiality Agreement. บริษัทขอรับรองว่าข้อมูลทั้งหมดที่ได้จัดหาให้แก่ PTI เป็นข้อมูลอันถูกต้องแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลที่ปรากฏอยู่ในสัญญารักษาความลับ
มาค่ะ อย่าเพิ่งเบื่อ มาต่อด้วย วลีอีกวลีหนึ่ง นั่นก็คือ "โดยใช่เหตุ" ซึ่งเอาไว้ใช้ขยายความในที่เราต้องการจะกล่าวค่ะ ถือเป็นอีกคำหนึ่งที่แปลยากพอสมควร เนื่องจากเราต้องการวิเคราะห์ก่อนว่า "โดยใช่เหตุ" นั้นแปลไทยเป็นไทยว่าอย่างไร ในกรณีนี้คำว่า "โดยใช่เหตุ" หมายความถึง สิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้น มักใช้กับเรื่องที่ไม่ได้เต็มใจจะให้เกิด ตรงนี้เราสามารถใช้คำว่า "unnecessary" ได้ค่ะ เช่น
By co-operating in an exchange of relevant information, the parties can avoid unnecessary delays. ด้วยการร่วมมือกันแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เกี่ยวข้อง คู่สัญญาสามารถหลีกเลี่ยงความล่าช้าโดยใช่เหตุได้ 
คำต่อมาที่น่าสนใจไม่น้อยก็คือคำว่า "โดยลายลักษณ์อักษร" ซึ่งในทางกฎหมาย เราจะเจอคำนี้บ่อยมาก เพราะอะไรที่ไม่ได้ทำเป็นลายลักษณ์อักษร" มักจะนำมากล่าวอ้างเป็นพยานหลักฐานในทางกฎหมายได้ยากค่ะ คำว่า "โดยลายลักษณ์อักษร" สามารถนำคำว่า "in writing" หรือ "in written form" หรือ ใช้ คำว่า "written" ขยายคำนามที่ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้ค่ะ เช่น a written notice คำบอกกล่าวโดยลายลักษณ์อักษร เป็นต้น **จะตรงกันข้ามกับคำว่า "โดยวาจา" หรือ "in words" และ "verbally" ค่ะ***
Such agreements shall be made by the parties in writing.  คู่สัญญาต้องจัดทำข้อตกลงเหล่านั้นเป็นลายลักษณ์อักษร
ว่าไปแล้วคำศัพท์คำว่า "โดย" นี่ก็น่าสนใจเหมือนกันนะคะ ^^" และบ่อยครั้งที่คำว่า "โดยลำพัง" ปรากฏอยู่ในสัญญาค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบางเรื่อง คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจต้องรับผิดชอบเรื่องนั้นโดยลำพัง คือ แต่เพียงผู้เดียว ฝ่ายเดียว คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งไม่ต้องมารับผิดชอบร่วมด้วย คำที่เรามักเจอ ก็คือคำว่า " on his/her/its own คำนาม" เช่น on its own expenses แปลว่า ด้วยค่าใช้จ่ายของตนแต่เพียงลำัพัง/ด้วยค่าใช้จ่ายของตนแต่เพียงผู้เดียว หรือเราจะใช้คำว่า "solely"  ที่แปลว่า โดยลำพัง/แต่เพียงผู้เดียว ขยายกริยาในประโยคก็ได้ค่ะ เช่น
The seller shall solely be liable for personal injury if it is proved that the injury is due to error or negligence on the part of the seller. ผู้ขายจะต้องรับผิดชอบต่ออาการบาดเจ็บทางร่างกายแต่เพียงผู้เดียว/โดยลำพัง หากพิสูจน์ได้ว่าการบาดเจ็บนั้นเป็นผลมาจากความผิดพลาดหรือการประมาทเลินเล่อของผู้ขาย
ก่อนจบบทความในวันนี้ ขอแถมให้ 2 คำ คือคำว่า "โดยสิ้นเชิง" และ "โดยอนุโลม" ค่ะ

 "โดยสิ้นเชิง" เราก็มักจะใช้คำว่า "completely" หรือ "entirely" นะคะ เช่น entirely different = แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง เป็นต้น

ส่วนคำว่า "โดยอนุโลม" เป็นภาษาละตินที่ใช้ในทางกฎหมาย เวลาใช้ ก็เอาต่อท้ายกริยาที่เราเขียนหรือแปลได้เลยคะ่ คำนั้นคือคำว่า "mutadis mutandis" เช่น นำมาใช้โดยอนุโลม ก็ใช้ว่า apply mutadis mutandis to ... นะคะ เช่น
In this case, the German Companies Act has to be applied mutadis mutandis. ในกรณีนี้ ให้นำรัฐบัญญัติว่าด้วยเรื่องบริษัทของเยอรมันมาใช้โดยอนุโลม
ลากันไปก่อนค่ะสำหรับวันนี้ 
ขอให้ทุกคนโชคดี(จากภัยน้ำท่วม)นะคะ



แสดงความคิดเห็น

7 ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ23 ตุลาคม 2554 เวลา 20:26

    ขอบคุณมากๆ เลยค่ะ ครูสาลี่ พี่เอิงได้ประโยชน์มากถึงมากที่สุด ต่อไปเจองานแปลสัญญา จะได้ไม่เหวออีกแล้ว...

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ3 ตุลาคม 2556 เวลา 15:32

    ขอบคุณมากครับ

    ตอบลบ
  3. ขอบพระคุณมากๆ ครับที่ให้ความรู้ส่วนนี้ ขอให้ประสบแต่ความสุขความเจริญ

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ14 กรกฎาคม 2560 เวลา 16:23

    ขอบคุณมากค่ะ

    ตอบลบ
  5. ขอบคุณมากเลยครับ กำลังต้องใช้พอดี

    ตอบลบ
  6. ขอบพระคุณมากๆ เช่นกันค่ะ อาจารย์

    ตอบลบ

ทักทาย แสดงความคิดเห็นหรือถามคำถามได้ ที่นี่ เลยค่ะ