Advertisement

Main Ad

สัญญาต้องเป็นสัญญา..วันนี้เลยมา "สัญญา" กับ "สำนวน that"

สัญญาต้องเป็นสัญญา..วันนี้เลยมา "สัญญา" กับ "สำนวน that" ตามที่สัญญาเอาไว้ อิอิ


"สัญญาต้องเป็นสัญญา" พูดแล้วเศร้า ถ้ามีใครสัญญาอะไรกับเราไว้ก็ต้องรักษาสัญญา แล้วทราบกันไหมคะว่า "รักษาสัญญา" นี้ เขาเรียกว่าอะไ นึกตามกันไปได้นะคะ นึกศัพท์เสล่อเราไม่ว่า แต่ขอให้ได้นึกเถอะ สาลี่คิดว่าคนไทยมากกว่าล้านคน (เลียนแบบเฟสบุ๊ค) ต้องเข้าใจภาษาอังกฤษ แต่เวลาจะใช้ แหม มันติดอยู่ีที่ริมฝีปาก นั่นก็เป็นเพราะว่าเราไม่ค่อยได้หยิบคำศัพท์ที่เรามีหรือที่เราเคยรู้ มาใช้ได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง เพราะฉะนั้น หากจะมีคนคิดว่า  "save promise" สาลี่ก็ไม่ว่ากันค่ะ ดีกว่าไม่คิดเลยนะคะ :) สู้ ๆ


คำว่า "รักษาสัญญา" ในภาษาอังกฤษเรามักใช้คำว่า "keep a promise" /คี้บ-อะ-พร้า-มิส/ ขีดเส้นใต้พยางค์ไหน ก็เน้นเสียงหนักที่พยางค์นั้นนะคะ คราวนี้จำไว้ว่าอย่าไป save นะคะ ^^


แต่สัญญาที่สาลี่กล่าวถึง มันไม่ใช่คำว่า "Promise" แล้วน่ะสิคะ ดังนั้น เมื่อพูดถึงสัญญาเราจะมารู้จักกันแค่คำว่า Promise (เป็นได้ทั้งคำนามและกริยานะคะ) ตัวเดียวอีกไม่ได้แล้วค่ะ สัญญาที่เขาเรียกกันในบริบทของกฎหมายหรือที่คู่สัญญามาตกลงร่วมกันเพื่อให้เกิดผลทางกฎหมายนั้นเราเรียกว่า Contract /ค้าน-แทร็กท์/ เป็นคำนาม (สำเนียงที่สาลี่สอน เป็นสำเนียงอเมริกันนะคะ) อ๊ะอ๊ะ แต่ถ้าเป็นคำกริยา เขียนเหมือนกัน แต่เน้นการออกเสียงที่ต่างกันนะคะ Contract (verb) ออกเสียงเน้นที่พยางหลัง ดังนี้ค่ะ /เคิน-แทร้กท์/ เวลาลองออกเสียง ออกเสียง "เิคิน" พยางค์แรกแค่ครึ่งเสียงก็พอค่ะ แล้วค่อยมากระแทกเสียงที่ "แทร้กท์" 55+ ลองดูนะคะ อย่าอาย 


นอกจากนี้ คำว่าสัญญาที่แปลเหมือนกับคำว่า Contract คือคำว่า "Agreement" /เออะ-กรี้-เมิ่น/ บ้างก็นิยมแปลว่าข้อตกลงค่ะ :) บางครั้ง ในการทำข้อตกลงระหว่างรัฐ เราอาจเรียกว่าข้อตกลงนั้นว่า MOU (อย่าเพิ่งอ่านว่า "เม่า" นะคะ เดี๋ยวจะ "เน่า" กันพอดี ) คำนี้อ่านทับศํพท์ไปเลยว่า /เอ็ม-โอ-ยู/ เพราะว่ามันย่อมาจากคำว่า Memorandum of Understanding แปลว่า กรอบความตกลงค่ะ แต่ถ้าทำกันระหว่างรัฐบาล 2 ประเทศขึ้นไป (หรือพหุภาคี - ศัพท์ไฮโซอ่ะ 55+) เราก็จะใช้คำว่า Treaty /ทรี้ต-ทิ่/ แปลว่า สนธิสัญญา นะคะ 


*** ข้อสังเกต *** สำหรับเอกชน (เอกชน = บุคคลธรรมดา/บริษัท ที่ไม่ใช่รัฐบาล) สัญญาแม้จะำทำหลายฝ่ายก็เรียกได้ว่าเป็น Contract หรือ Agreement นะคะ เราไม่ไฮโซเรียกว่า Treaty นะคะทุกคน


สำหรับสำนวน that ที่จะมานำเสนอในวันนี้คือ 



ใครที่เรียนผ่าน ม. ปลาย กันมาแล้ว "ต้องรู้จักคำนี้แน่นอนค่ะ" เพราะเราเรียนคำนี้กันในบทเรียนเรื่อง "Conditional If" ซึ่งจะสอนกันในบทต่อๆ ไป (อย่าลืมติดตามนะคะ) 


คำว่า "Provided that" ไม่เกี่ยวอะไรกับคำว่า "Provide" /เพรอะ-วายด์/ ไม่ออกเสียงว่า /โพร/ นะคะ เพราะถ้าออกเสียงหนักเป็นสระโอ มันจะเน้นที่พยางค์แรกซึ่งผิด เราเลยลดพยางค์แรกลงให้เหลือเสียงเออะแทน แล้วไปเน้นที่วายด์นะคะ คำนี้เป็นกริยา แปลว่า ยื่น มอบ ให้ offer supply provide submit แล้วก็ศัพท์อนุบาลหมีควาย give ค่ะ (ทั้ง set นี้จำไปด้วยกันให้หมดเลยนะคะ แปลว่ายื่น มอบ ให้ )


"Provided that" ในที่นี้ มักแปลว่า "on the condition that" หรือ "โดยมีเงื่อนไขว่า" 
ซึ่งแน่นอนว่ามันคือเงื่อนไข (เขาถึงเอาไปสอนร่วมกับเรื่อง if clause ไงเล่าคะ)


การใช้ --> ประโยคหลัก, provided that + ประโยคย่อย


หมายถึง ข้อความในประโยคหลักจะเกิด หากเป็นไปตามข้อความในประโยคย่อย


อนุบาลหมีควาย = I will quit smoking, provided that you win the scholarship. 
                          ฉันจะเลิกบุหรี่เลย หากว่าเธอสอบชิงทุนได้ (ใช้ความหมายเหมือน if)


อนุบาลหมีแพนด้าYou may make one back-up copy of the Program, provided that 
(ยากกว่าหมีควาย)    such copy shall be subject to the terms of this Agreement.


เวลาแปลสัญญา provided that ควรแปลว่า "โดยมีเงื่อนไขว่า" เพราะหากเงื่อนไขไม่สำเร็จแล้วไซร้ ก็ย่อมไม่ต้องทำในสิ่งที่บอกไว้แต่แรก ตัวอย่างแปลว่า "ท่านอาจทำสำเนาโปรแกรมเพื่อสำรองไว้ 1 ชุด โดยมีเงื่อนไขว่าการทำสำเนานั้นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในข้อตกลงฉบับนี้"  หมายความว่า ถ้าไม่ทำตามข้อตกลงนี้ ก็ทำสำเนาโปรแกรมไม่ได้นั่นเอง 




โอเคนะคะ "That's all for today." แปลว่า แค่นี้แหล่ะ สำหรับวันนี้

 ** "อย่าลืมนำที่อ่านไปใช้กันนะคะ" **





แสดงความคิดเห็น

5 ความคิดเห็น

  1. เคยใช้แต่ given that.... เหมือนความหมายจะต่างกัน..เอ๊ะหรือว่าเหมือนกัน รอคุณครูมาตอบดีก่า :)

    ตอบลบ
  2. สวัสดีค่ะคุณ Aom

    สำหรับคำว่า Provided that นั้นจะเหมือนกับคำว่า on the condition that = ซึ่งเป็นการกำหนดเงื่อนไขที่มักใช้ในสัญญาหรือข้อตกลงค่ะ หากเงื่อนไขหลัง provided that หรือ on the condition that นั้นไม่สามารถกระทำได้สำเร็จ ข้อความที่ปรากฏอยู่ด้านหน้าก็จะไม่มีผลอะไรเลย ตามตัวอย่างที่ได้อธิบายไปในบทความข้างบนนะคะ

    ส่วนคำว่า given ดูจากรูปแล้วเหมือนจะเป็น Past Participle (คนที่ยังไม่เคยเรียน อย่าเพิ่งงงนะคะ มันก็คือกริยาช่อง 3 นั่นเองค่ะ เดี๋ยวสาลี่จะเอามาสอนในโอกาสต่อๆ ไปค่ะ) แต่ในที่นี้ given ยังสามารถเป็น Proposition ได้อีกด้วยค่ะ และถ้าเราเติม that ไว้ข้างหลัง given -->> given that มันจะทำหน้าที่เป็น conjunction คอยเชื่อมประโยค ทั้งสองตัวนี้ given, given that จะแปลว่า in view of หรือ เมื่อเรา take something into consideration (พิจารณาถึงเรื่อง...) แต่แปลเป็นไทยยากค่ะ เพราะต้องขึ้นอยู่กับบริบท ขอยกตัวอย่างว่า Given that นะคะ
    This Report examined the appropriateness of the law of insurance contracts, given that it was a mixture of common law principles.

    ประโยคนี้จะแปลประมาณว่า รายงานฉบับนี้ได้ตรวจสอบความเหมาะสมของกฎหมายว่าด้วยสัญญาประกันภัย ด้วยเหตุว่า (เมื่อพิจารณาถึงข้อเท็จจริงที่ว่า) กฎหมายดังกล่าว (it) เป็นกฎหมายที่ผสมผสานหลักกฎหมายคอมมอนลอว์ต่างๆ เข้ามาด้วย

    Given that ไม่ได้ตามด้วยเงื่อนไขที่ต้องทำให้สำเร็จเหมือน provided that หรือ on the condition that ค่ะ แต่ตามด้วยข้อมูลที่เป็นพื้นฐานหรือปัจจัยในการพิจารณามากกว่าค่ะ

    Given what she knew about the news, how could she lost a lot of fortune in such investment.
    เมื่อพิจารณาดูว่าเธอก็ล่วงรู้เกี่ยวกับข่าวนั้นแล้ว ทำไมเธอถึงสูญเสียเงินจำนวนมากไปกับการลงทุนนั้นเล่า

    ประมาณนี้น่ะค่ะ ไม่รู้ว่าสาลี่อธิบายชัดเจนหรือเปล่า อิอิ ต้องดูบริบทประกอบด้วยค่ะ ว่าใช้ในกรณีไหน

    ตอบลบ
  3. Macmillan Dictionary ให้ความหมายของคำว่า "given that" ไว้ค่อนข้างชัดเจนค่ะ ว่า because of a particular fact ก็สอดคล้องกับที่สาลี่ได้อธิบายข้างต้นนะคะ :)

    ตอบลบ
  4. ขอบคุณสำหรับคำอธิบายค่าพี่สาลี่ :)

    อันนี้ชัดเจนดี...
    "Given that ไม่ได้ตามด้วยเงื่อนไขที่ต้องทำให้สำเร็จเหมือน provided that หรือ on the condition that ค่ะ แต่ตามด้วยข้อมูลที่เป็นพื้นฐานหรือปัจจัยในการพิจารณา"

    ตอบลบ

ทักทาย แสดงความคิดเห็นหรือถามคำถามได้ ที่นี่ เลยค่ะ